โรคหนองในไม่ได้หายไปไหนแต่ไม่มีใครพูดถึง?
บทนำ
โรคหนองใน เป็นโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ จากการมีเพศสัมพันธ์
โรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae เป็นแบคทีเรียที่เจริญได้ดีในที่ชื้น
ที่อบอุ่น ของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ มีปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ ในหญิง แล ะชาย
อาการของโรคหนองใน มักมีอาการรุนแรง ชัดเจน หากคุณปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการดูแลอย่างถูกต้อง
ต่อมาอาการของคุณ จะดีขึ้นได้เองเล็กน้อย แต่ทว่าตัวโรคหนองในยังมียังเป็นอยู่ อาจทำให้เกิด
มีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ภายหลัง หรือ ได้รับเชื้อเข้ามาเพิ่มจากการกระตุ้นจาก เชื้อแบคทีเรีย
อีกครั้งจากคู่นอน
เชื้อโรคจะเจริญภายในอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ในเยื่อบุช่องปาก ในคอ ที่ตา ที่ทวารหนัก ในประเทศ
อเมริกาได้มีการประมาณการ การติดเชื้อจากแบคทีเรีย รายใหม่ ปีละ ประมาณ 700,000 ราย
แต่ที่รายงานมายังศูนย์ควบคุมการป้องกันโรคติดต่อ (CDC,Centers for Disease Control and Prevention) ในปี พ.ศ. 2552 เพียง 301,174 ราย เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
**ในประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวน 6,168 ราย
คิดเป็น 15.43 % ของผู้ป่วยโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ทั้งหมด คิดเป็น 9.76 ต่อ ประชากร
100,000 คน [ข้อมูลเพิ่มเติม ในประเทศไทย ในปี พ.ศ 2557 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า
ในระยะ 10 ปี พบว่ามีเด็กผู้ชาย 10-19 ปี มีอัตราการติดโรคหนองในสูงขี้น]
นอกจากนี้หากเป็นโรคหนองในเรื้อรัง ดูแลป้องกันไม่หายขาด กลับมาเป็ยซ้ำๆ หลายครั้ง อาจจะ
เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว
หัวใจวาย โรคมะเร็งปากมดลูก (HPV) ได้ และ โรคข้ออัเสบ
ติดโรคหนองในได้อย่างไร? ใครมีปัจจัยเสี่ยง?
โรคหนองใน เกิดได้จากการสัมผัส เยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาตโดยอาจมี ไม่มี
การหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ นอกจากนี้ ยังอาจติดจากมารดาสู่ ทารกในระหว่าง การคลอดได้ ผู้ที่เป็น
โรคหนองใน หลังจากได้รับการดูแลแล้ว หากสัมผัส โรคหนองในอีก ก็เป็นโรคหนองใน ซ้ำได้อีก
ปัจจัยเสี่ยง ของโรคหนองใน คือ คนที่มีเคยมีเพศสัมพันธ์ แล้วจะมีความเสี่ยง หรือ มีโอกาสที่จะ
เป็นโรคได้ นอกจากนั้น จะมีความเสี่ยงสูงในกลุ่มวัยรุ่น คนที่มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน เคยเป็น
โรคหนองใน มาแล้ว หรือ เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ มาแล้วเช่น โรคซิฟิลิส
ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ติดยาเสพติด
สาเหตุของการติดเชื้อโรคหนองใน
โรคหนองใน พบได้ในน้ำอสุจิ สารน้ำในช่องคลอด ถ่ายทอดผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก
เชื้อแบคทีเรีย สามารถเจริญ ได้ดีในที่ชื้น ที่อบอุ่น ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ปากมดลูก มดลูก
ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ ทั้งชายหญิง สามารถเจริญในบริเวณทวารหนัก เยื่อบุตา ช่องปากคอ
โรคหนองในมีอาการอย่างไร?
อาการของโรคหนองในที่พบได้บ่อย คือ ในชายระยะฟักตัวของโรค จะมีอาการปัสสาวะ แสบขัด
มีหนองไหลจากปลายองคชาต บางรายมีอาการปวด บวมของถุงอัณฑะ บางคนอาจไม่มีอาการ
หากมีอาการมักจะปรากฏใน 1-14 วัน หลังจากสัมผัสคนที่เป็นโรคหนองใน
ในหญิงประจำเดือน แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน(ผลข้างเคียง)จากการติดเชื้อที่รุนแรง
มากกว่าชาย ไม่ว่ามีอาการติดเชื้อมากหรือน้อยก็ตามมักไม่มีอาการได้ เช่นกันหรือ อาการไม่มาก
อาจมีปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีเลือดออก ทางช่องคลอด ระหว่างรอบเดือน ทั้งใน ชาย และหญิง
หากติดเชื้อในทวารหนัก จะมีอาการคัน ปวดเวลาขับถ่าย หากติดเชื้อในช่องคอจะมีอาการเจ็บคอ
ในการติดเชื้อโรคหนองใน ในตำแน่งใดๆก็ตาม อาจจะไม่มีอาการก็ได้ ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจาก
โรคหนองใน การติดเชื้อโรคหนองใน หากไม่ได้รับการดูแล อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น ภาวะ
แทรกซ้อน และผลข้างเคียง ตามมา
ในผู้หญิง เนื้อเยื่อของปีกมดลูก จะทำให้มีบุตรยาก อาจตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ อาจมีอันตราย
ถึงชีวิตได้ เชื้อโรคหนองใน มักทำให้เกิดการอักเสบ ในอุ้งเชิงกราน ช่องท้องน้อย ทำให้มีอาการ
ปวดท้อง มีไข้ จะทำให้เกิดถุงหนองใน ช่องท้องน้อย ที่ดูแล/ป้องกันให้หายยากมาก อาจทำให้
มีอาการปวดท้อง ในช่องท้องน้อยเรื้อรัง มีการทำลายเยื่อบุมดลุกก็ได้
ในผุ้ชาย โรคเอดส์ (HIV] คนที่เป็นโรคหนองใน จะติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เป็น
โรคหนองใน รวมทั้งในชาย และ ในหญิง ทำให้เกิดการอักเสบของลูกอัณฑะ ท่อนำอสุจิ ทำให้
มีบุตรยาก เชื้อโรคอาจแพร่กระจายเข้าสู่ข้อ กระดูก กระแสเลือด อาจมีอันตรายต่อชีวิตได้
เป็นช่องทางที่จะติดเชื้อโรคหนองในสูง
หากเป็นโรคหนองในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีผลอย่างไรบ้าง?
ทารกที่คลอด ทางช่องคลอดจะติดเชื้อโรคหนองใน จากมารดาได้จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด
ของมารดา หากทารกติดเชื้อที่ตา อาจทำให้ตาบอด อาจเกิดการติดเชื้อรุนแรง กับอวัยวะอื่น ๆ
เป็นอันตรายต่อชีวิตทารกได้ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์หากมีอาการ หรือ เหตุอันน่าสงสัยว่าติดเชื้อ
โรคหนองใน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการดูแล/ป้องกันที่เหมาะสมและปลอดภัย
การติดเชื้อโรคหนองใน ที่เป็นโรคติดต่อเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ อาจพบโรคอื่นๆได้ โดยเฉพาะ
เชื้อ เอชไอวี [โรคเอดส์] ยาปฏิชีวนะจะดูแล/ป้องกันโรคหนองในให้หายได้แล้ว แต่ว่ายาปฏิชีวนะ
ไม่สามารถ “ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย” ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนไปแล้วได้ หากยังไปสัมผัส
โรคหนองในอีก ก็กลับมาเป็นโรคซ้ำอีกได้
เมื่อติดโรคหนองใน? ควรพบแพทย์เมื่อไรมีอาการดังนี้?
มีอาการปัสสาวะแสบขัด มีอาการปวด มีผื่นขึ้น ที่บริเวณอวัยวะเพศ ควรหยุดการมีเพศสัมพันธ์
ให้รีบปรึกษาแพทย์ หลังได้รับการดูแล เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีกรอบ ควรแจ้งให้คู่นอนมารับ
การดูแล/ป้องกัน ด้วยกันและให้งดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าอาการจะหายดีแล้ว
ระยะฟักตัวและอาการของการติดโรคหนองใน
ระยะฟักตัว ของโรคหนองใน หลังจากได้รับ เชื้อโรคหนองใน โรคจะแสดงอาการภายใน2-10 วัน
โดยทั่วไป โรคหนองใน มักจะแสดงอาการภายใน 5 วัน
“ในผู้ชาย”หลังจากได้รับเชื้อโรคหนองประมาณ 2-10 วันจะมีอาการแสบในลำกล้องเวลาปัสสาวะ
ปัสสาวะขัด มีหนองไหล ออกมาจากท่อปัสสาวะ.
ระยะแรก อาจจะมีหนองแค่ไหลซึมเป็นมูกใส ๆ เล็กน้อย อาจไม่ใช่น้ำปัสสาวะ น้ำอสุจิ แต่ในอีก
12 ชั่วโมง จะกลายเป็นหนอง สีเหลืองข้น ออกมากคล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยว บางรายอาจมีอาการ
ปวดบวม ของถุงอัณฑะ มีการอักเสบ ที่หนังหุ้มปลายองคชาต พบได้น้อย ประมาณ 10 %
ของผู้ชาย ที่ติดเชื้อโรคหนองใน อาจไม่มีอาการแสดงออกมาเลย แต่สามารถ แพร่เชื้อโรคหนองใน
ให้ผู้กับอื่นได้อีก
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของผู้ป่วยหนองใน “ในผู้ชาย”
ในผู้ชายที่มีอาการหนองในอาจเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆคือถ้าหากไม่ได้รับการดูแลจะมีหนองไหล
อยู่ประมาณ 3-4 เดือน เชื้อโรคหนองในอาจลุกลาม เข้าไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้ท่อปัสสาวะ
อักเสบ ทำให้ท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ เกิด
การอักเสบของอัณฑะ อัณฑะปวดบวม เป็นหนองในท่อนำอสุจิ ทำให้มีบุตรยากกลายเป็นหมัน
ข้ออักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นที่ผิวหนัง หนองไหล
“ในผู้หญิง”
ระยะแรก มักจะไม่มีอาการแสดงออกมา
ระยะต่อมาจะมีตกขาวออกมาผิดปกติ มีปริมาณมากขึ้นเป็นหนองสีเหลือง หรือ สีเขียว มีกลิ่นเหม็น
ไม่คันมีอาการขัดเบา แสบร้อน เมื่อปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น ปวดท้องน้อย มีเลือดออกกะปริดกะปรอย
ในระหว่าง รอบเดือน ถ้ามีการอักเสบ ของปีกมดลูก ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดกดเจ็บตรงท้องน้อย
ปีกมดลูกอักเสบประมาณ 50%
โรคหนองในเกิดในผู้หญิง
ที่มีติดเชื้อโรคหนองใน จะไม่มีอาการแสดงออก แต่สามารถแพร่เชื้อโรคหนอง ให้ผู้อื่นได้อยู่หากติด
เชื้อโรคหนองใน ในลำคอทำให้เกิดอาการเจ็บคอ เป็นไข้ หากติดเชื้อในทวารหนักจะทำให้ เกิดอาการ
ปวดหน่วง คัน อาจมีน้ำคล้ายหนองออกมา ในขณะขับถ่าย และ หากมีการติดเชื้อที่เยื่อบุตา จะทำให้
มีอาการเจ็บปวดระคายเคือง มีหนองไหลออกมา การติดเชื้อในตำแหน่งใดๆ ก็ตามอาจมีอาการที่ต่อม
น้ำเหลืองที่ ขาหนีบ (ไข่ดัน) บวม และ เจ็บด้วยอาการหนองใน
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของผู้ป่วยหนองใน “ในผู้หญิง”
มีอาการโรคหนองใน เชื้อโรคหนองในอาจลุกลาม ทำให้ต่อมบาร์โทลิน (ที่แคมใหญ่) เกิดการอักเสบ
เป็นฝีบวมโต ทำให้เยื่อบุมดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ ถ้าเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง เมื่อหายจาก
โรคหนองใน ก็จะทำให้ ท่อรังไข่ตีบตัน กลายเป็นหมันได้ในหญิง ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
การตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ช่องท้องน้อยมี อาการปวดท้อง มีไข้ ทำให้เกิด
ถุงหนองในช่องท้องน้อย แต่ถ้ามีการดูแลไม่ถูกต้องหายยากอาจทำให้มีอาการปวด ในช่องท้องน้อย
แบบเรื้อรัง เชื้อโรคหนองใน จะเข้าสู่กระแสเลือด ไปที่ข้อเป็น หนองในเข้าข้อ ทำให้เป็น โรคข้ออักเสบ
ชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน จนมีอันตรายต่อชีวิตได้ ภาวะหนองในติดเชื้อเฉียบพลัน แต่ที่พบได้บ่อย
คือ ข้อเท้า ข้อเข่า และ ข้อมือ
การป้องกันโรคหนองใน ที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยง การกระทำดังต่อไปนี้ คือ
เลือกมีคู่นอนเพียงคนเดียว จะแน่นอนยิ่งขึ้นหากคู่นอน ได้รับการตรวจ แล้วว่าไม่มีการติดเชื้อใดๆ
หลีกเลี่ยงการเที่ยวกลางคืน หยุดการสำส่อนทางเพศ ถ้าจะหลับนอนกับคนอื่น หรือ คนที่สงสัยว่า
จะเป็นโรคหนองใน ควรใช้ถุงยางอนามัยเสมอ จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้เกือบ 100%
หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อควรดื่มน้ำ
ก่อนร่วมเพศ ถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ ฟอกล้างสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลดการติดเชื้อ
ลงได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะได้ผลทุกราย การกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคภายหลังการร่วมเพศอาจได้ผล
แต่ต้องเป็นยาชนิด ขนาดเดียวกันกับที่ใช้ในการดูแลโรคหนองใน(ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยคุ้มเท่าใดนักรอให้
มีอาการแสดงออกมาค่อยดูแลจะดีกว่า การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ ได้) การ
กินยาล้างลำกล้อง เป็นยาระงับเชื้อ (Antiseptic) ไม่ใช่ยาทำลายเชื้อ จึงไม่ได้ผลในการป้องกัน
(ยานี้กินแล้วจะทำให้ปัสสาวะเป็นสีแปลก ๆ เช่น สีแดง สีเขียว)
ผู้ที่ติดเชื้อโรคหนองในจะมีอาการชัดเบา
จะมีอาการขัดเบา คือ ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย ออกทีละน้อย รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลา
ปัสสาวะ มักจะต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมง หรือ ชั่วโมงละหลายครั้ง มีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุดอยู่
ตลอดเวลา บางคนอาจมีอาการปวด ตรงบริเวณท้องน้อย (หัวหน่าว) ร่วมด้วย ปัสสาวะมักจะ
ออกใสๆ บางคนอาจขุ่น มีเลือดปน ไม่มีไข้ ยกเว้นกรวยไตอักเสบจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น
ปวดเอว อาการมักเกิดหลังอั้นปัสสาวะนานๆ หรือ มีการสวนปัสสาวะ
อาการขัดเบาหรือปัสสาวะบ่อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
1. โรคหนองใน(gonorrhea) จะมีอาการหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ หรือตกขาวออกเป็นหนอง
ร่วมกับถ่ายปัสสาวะแสบขัด
2. นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ จะมีอาการขัดเบาร่วมกับถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
3. กรวยไตอักเสบ จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะ ขุ่นข้น ปวดเจ็บตรงสีข้าง (เอว) ด้านใดด้านหนึ่ง
อาจมีอาการขัดเบา (ถ้ามีกระเพาะอักเสบร่วมด้วย)
4. เบาหวาน จะมีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อย ออกทีละมากๆ และ ใส ไม่มีอาการแสบขัด ที่สำคัญจะมี
อาการกระหายน้ำบ่อย หิวข้าวบ่อย อาจมีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลดร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้
จะไม่พบในคนที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การรักษา
+ เมื่อสงสัยหรือหลังได้รับเชื้อโรคหนองในควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ หาตำแหน่งของโรค
+ รับประทานยาปฎิชีวนะ ให้ครบตามแพทย์สั่ง หากมีอาการแพ้ยาควรพบแทย์
+ ควรไปการตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคติดเชื้อเอชไอวี, โรคซิฟิลิส
และ โรคไวรัสตับอักเสบบี
www.gelcremo.com/gel-product/gel-umi
www.gelcremo.com/gel-product/gel-exo
ปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์
www.gelcremo.com